วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

การกำหนดค่าจ้างและราคา การแทรกแซงราคาของภาครัฐบาล

สาระสำคัญ
       การกำหนดค่าจ้าง ราคาสินค้า และบริการ จะปรับเปลี่ยนไปตามอุปสงค์ อุปทานของระบบตลาด แต่ถ้าในการปฏิบัติกลไกราคาและระบบตลาดไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ภาครัฐจึงมีความจำเป็นต้องเข้ามามีบทบาทในการเสริมสร้างกลไกราคาหรือระบบตลาดให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยเชื่อว่ากลไกราคาจะช่วยจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดในระบบเศรษฐกิจให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

จุดประสงค์การเรียนรู้
1.วิเคราะห์อุปสงค์ของแรงงาน อุปทานของแรงงาน และอัตราค่าจ้างดุลยภาพในตลาดแรงงาน
2. อธิบายความหมายและลักษณะของตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ความหมายและลักษณะของตลาด
แข่งขันไม่สมบูรณ์
3. วิเคราะห์การกำหนดราคาในตลาดแข่งขันสมบูรณ์ การกำหนดราคาในตลาดแข่งขันไม่สมบูรณ์
4. ประเภทตลาดผูกขาด (Monopoly) และตลาดที่มีผู้ขายน้อยราย (Oligopoly) วิเคราะห์เหตุผล
ที่รัฐบาลต้องเข้ามามีบทบาทในการแทรกแซงราคา ควบคุมหรือพยุงราคาของสินค้าและบริการ
5. บอกความแตกต่างของสินค้าและบริการส่วนบุคคล (Private Goods) กับสินค้าและบริการสาธารณะ
(Public Goods)
6. วิเคราะห์รูปแบบของการแทรกแซงราคาของรัฐบาล
7. วิเคราะห์เหตุผลที่รัฐบาลต้องเข้ามามีส่วนในการดำเนินการผลิตสินค้าและบริการ การที่รัฐบาล
เข้ามาดำเนินการค้าระหว่างประเทศเอง
8. อธิบายความหมายของการกีดกันทางการค้า และสาเหตุที่ทำให้มีการกีดกันทางการค้า
9. อธิบายการกีดกันทางการค้า โดยใช้มาตรการทางด้านภาษีและมาตรการที่ไม่ใช่ภาษี
10. วิเคราะห์ผลกระทบของการแทรกแซงราคาและการกีดกันทางการค้า
11. วิเคราะห์ผลของการควบคุมราคา การพยุงราคาหรือการกำหนดราคาขั้นต่ำ โดยใช้เส้นอุปสงค์ และอุปทาน
12. เห็นประโยชน์ของการเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการผลิตสินค้าและบริการของรัฐบาล

บทบาทของภาครัฐบาลต่อธุรกิจเอกชน
1. ระบบเศรษฐกิจและจุดมุ่งหมายในการดำเนินการทางเศรษฐกิจของรัฐบาล
           ผู้บริโภค - แสวงหาอรรถประโยชน์สูงสุดจากการบริโภคสินค้า
           ผู้ผลิต – แสวงหากำไรสูงสุด
           รัฐบาล – มุ่งให้ประชาชนได้รับสวัสดิการทางเศรษฐกิจสูงสุด ประชาชนมีการกินดีอยู่ดี มี  มาตรฐานในการครองชีพสูง ไม่เน้นการแสวงหาผลกำไร
           รัฐบาลมีบทบาทเป็นผู้ควบคุมดูแลการดำเนินการองค์กรธุรกิจ (Regulation) ให้ผลิตสินค้ามาตรฐาน ปลอดภัย และป้องกันการใช้อำนาจตลาดอย่างไม่เป็นธรรม
           มีหน่วยงานของรัฐในการควบคุมดูแล เช่น อย., ธปท. ฯลฯ หรือมีกฎหมายควบคุมดูแล เช่น Anti-Trust Law)
           รัฐบาลจำเป็นต้องมีจริยธรรมในการกำกับดูแลให้เป็นประชาธิปไตยโดยแท้จริง ไม่มีการเอื้อประโยชน์แก่พวกพ้อง

           กระบวนการที่นักการเมืองใช้เงินซื้อเสียง หลังจากนั้นก็กำหนดนโยบายเอื้อประโยชน์แก่ตนเอง เรียกว่า “ธนกิจการเมือง (Money Politics)”
           ทำได้โดยการจัดสรรค่าเช่าทางเศรษฐกิจ (Economic Rent) ด้วยวิธีต่างๆ เช่น สัมปทาน สิทธิพิเศษ/อุดหนุนรายเดียว
           ทำให้สังคมไม่ได้รับสวัสดิการทางเศรษฐกิจสูงสุด
ค่าเช่าทางเศรษฐกิจ
          คือผลตอบแทนที่ธุรกิจได้รับซึ่งมากกว่าจำนวนที่ต้องการขาย

ระบบเศรษฐกิจ
แบบเสรีนิยม (Capitalism)
          ใช้กลไกราคาในการจัดสรรทรัพยากร หรือเป็นมือที่มองไม่เห็น (Invisible hands)
          กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของประชาชน
         ไม่มีการกีดกันการเข้าหรือออกจากการผลิต
          ผู้บริโภคมีอธิปไตยในการตัดสินใจเลือกบริโภค
แบบสังคมนิยม (Socialism)

         ไม่เชื่อในกลไกราคา จึงทำการวางแผนจากส่วนกลางในการผลิตและจำแนกแจกจ่าย
          กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินเป็นของรัฐบาล (ทำให้ขาดแรงจูงใจในการทำงาน)
         ประชาชนไม่มีเสรีภาพในการเลือกบริโภคสินค้า เนื่องจากจะได้รับการจัดสรรจากส่วนกลางอย่างเท่าเทียมกัน
แบบผสม (Mixed Economy)

          ผสมผสานระหว่างทุนนิยมและสังคมนิยม
          กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินมีทั้งที่เป็นของรัฐบาล และของเอกชน
          มีการกีดกันการเข้ามาทำธุรกิจของเอกชนในบางสินค้า เช่น การให้สัมปทาน
          ประชาชนมีเสรีภาพในการเลือกบริโภคสินค้า แต่สินค้าบางชนิดใช้กลไกของรัฐบาลในการควบคุมและจัดสรร
2. แนวความคิดเกี่ยวกับบทบาทของรัฐบาลในทางเศรษฐกิจ
แนวคิดของ Classic

  ระบบเศรษฐกิจมีการจ้างงานเต็มที่

  ตลาดแข่งขันสมบูรณ์ ราคากำหนดโดยกลไกตลาด(มือที่มองไม่เห็น)
  การแทรกแซงโดยรัฐจะส่งผลบิดเบือนกลไกการจัดสรรทรัพยากร
  รัฐบาลควรมีหน้าที่สำคัญเพียง 4 ประการคือ
       - ป้องกันประเทศ
       - รักษาความสงบเรียบร้อยในประเทศ
       - รักษาความยุติธรรมและดำเนินการให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย
       - จัดสรรสาธารณูปโภคในส่วนที่เป็นสินค้าสาธารณะ
แนวคิดของ Keynes
        เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ 2

        ราคาไม่ได้ปรับตัวอย่างเสรีตามกลไกตลาด ทำให้เกิด market failure
        สนับสนุนรัฐบาลใช้นโยบายการเงินการคลัง(นโยบายทางด้านอุปสงค์มวลรวม) เพื่อดูแลรายได้ประชาชาติ และระดับราคา(ไม่ให้เกิดเงินเฟ้อหรือเงินฝืด)
       ไม่สนับสนุนการควบคุมราคาสินค้า ค่าจ้าง และอัตราดอกเบี้ย แต่เสนอให้ใช้นโยบายการให้เงินอุดหนุน(subsidy) สิทธิประโยชน์ทางภาษี และการคุ้มกันจากรัฐบาล
แนวคิดของเศรษฐศาสตร์ด้านอุปทาน (Supply-side Economics)

       วิกฤตราคาน้ำมันในทศวรรษ 1970 ทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำขณะเดียวกันก็มีเงินเฟ้อด้วย (Stagflation)

        แนวคิด Keynes ที่ใช้นโยบายด้านอุปสงค์มวลรวมไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ จึงมีแนวคิดเรื่อง Laffer’s Curve ว่า “ถ้ารัฐบาลมุ่งจัดการเก็บภาษีด้วยอัตราภาษีที่สูงแล้ว รายรับภาษีของรัฐบาลจะลดลง”และมีแนวคิดการจัดการด้านอุปทานมวลรวม เพื่อลดต้นทุนการผลิต เช่น ลดภาษี ลดการกำกับดูแล แปรรูปรัฐวิสาหกิจ อันจะนำไปสู่การสร้างแรงจูงใจในการทำงานและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากขึ้น
        จากวิกฤตการณ์ราคาน้ำมัน และการล่มสลายของสังคมนิยม ทำให้เกิดการว่างงาน และอัตราเงินเฟ้อสูง ทำให้เกิดการรวมตัวของนักเศรษฐศาสตร์ในวอชิงตัน มีแนวคิดในเรื่องความล้มเหลวของกลไกของรัฐ หรือการแทรกแซงแล้วก่อให้เกิดความไร้ประสิทธิภาพของระบบเศรษฐกิจ เกิดเป็น “ฉันทามติวอชิงตัน” เกิดเป็นกลุ่มแนวนโยบาย 4 แบบคือ
Liberalization การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ(ด้านการค้า การบริการ การลงทุน การผลิต และการเงิน)
Stabilization การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ (ด้านราคา ดุลการชำระเงิน และอัตราแลกเปลี่ยน) Privatization การโอนถ่ายการผลิตจากรัฐไปสู่ภาคเอกชน หรือการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
Deregulation การลดการกำกับดูแลการดำเนินการของภาคเอกชน ยกเลิกระเบียบที่ทำให้เกิดความล่าช้าและทำลายแรงจูงใจในการทำงานของเอกชน
       การเปิดเสรีทำให้เกิดการแข่งขันรุนแรง ทำให้ธุรกิจไทยบางรายต้องปิดกิจการ ควบรวมกิจการกับกลุ่มทุนต่างชาติ การครอบงำกิจการ (Takeover) เช่น กิจการธนาคารพาณิชย์ไทย ธุรกิจสิ่งทอ การเกษตร เครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งถูกแข่งขันอย่างรุนแรงจากจีน
3. การเสนอ (อุปทาน) และความต้องการ (อุปสงค์) นโยบายเศรษฐกิจรัฐบาล
- อุปทานของนโยบายเศรษฐกิจ ประกอบด้วย

        - ชนชั้นนำทางอำนาจ ได้แก่ นายกรัฐมนตรี คณะรัฐบาล ข้าราชการระดับสูง กลุ่มนายทุนใหญ่
        - ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนักวิชาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับเศรษฐกิจ เช่น กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย
        - พรรคการเมืองที่เสนอนโยบายในการดำเนินการทางเศรษฐกิจเมื่อตนเองได้เป็นรัฐบาล
        - รัฐสภาประกอบด้วยพรรคการเมืองฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล รวมทั้งวุฒิสมาชิกช่วยกลั่นกรองนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาล
อุปสงค์ของนโยบายเศรษฐกิจ ประกอบด้วย

        - กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ ที่สนับสนุนผู้เสนอนโยบายเศรษฐกิจในทิศทางที่ตนต้องการ ในบางครั้งอาจบริจาคเงินแก่พรรคการเมืองที่เสนอแนวนโยบายตามที่ตนต้องการ

        - สื่อมวลชนเสนอความต้องการในทิศทางของนโยบายเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์แก่ประเทศ
        - นักวิชาการจากสถาบันศึกษาประยุกต์หลักวิชาการ เสนอความต้องการของนโยบายเศรษฐกิจที่ควรจะเป็น
        - ขบวนการประชาชนและองค์กรเอกชน (NGO) ต้องการนโยบายในลักษณะที่ไม่มีการเอารัดเอาเปรียบระหว่างกลุ่มคนภายในประเทศ ความมีสิทธิเสรีภาพที่เท่าเทียมกันของบุคคลทางเศรษฐกิจ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาตรฐานสินค้า คุณภาพ และความปลอดภัยของสินค้า
4. เครื่องมือของนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญของรัฐบาล
 
เครื่องมือของนโยบายเศรษฐกิจ  ---    เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจสูงสุด
                                                         ---     สภาวะการณ์ทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจริง
ตัวอย่างการใช้นโยบายการเงินเพื่อบรรลุเป้าหมาย

เครื่องมือของนโยบายการเงิน    1) การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสดสำรองตามกฎหมาย
                                                        2) การเปลี่ยนแปลง Bank rate
                                                        3) การซื้อขายพันธบัตรรัฐบาล

ตัวแปรเป้าหมายขั้นกลาง            1) อัตราดอกเบี้ย
                                                         2)ปริมาณเงินเปลี่ยนแปลง

                                                         * การเปลี่ยนแปลงของตัวแปรเป้าหมายขั้นสูงสุด